Happy 100th Post!
I can’t believe that this blog has reached it’s 100th post from what initially was a mere personal journal of gluttony. I could not express to you guys how thankful I am for your support and comments. I hope that there will be many more milestones to come, be it the 200th, 300th, or 1000th post, and that by that time you are still coming along the wonderful culinary journey with me. =)
สวัสดีค่ะ
วันนี้ครบโพสต์ที่ 100 แล้วนะคะ นิดาไม่อยากจะเชื่อเลยว่าจากไดอารี่ (ความตะกละส่วนตัว) จะสามารถมาถึงจุดนี้ได้ ถึงแม้บล๊อกของนิดาจะเป็นแค่เพียงบล๊อกน้องใหม่เล็กๆ แต่นิดารู้สึกขอบคุณจริงๆในกำลังใจที่ทุกๆคนที่ติดตามอ่านให้มาค่ะ 100 โพสต์ที่ผ่านมานั้นสนุกมากๆ หวังว่าเราจะได้เดินทางไปในเส้นทางของอาหารและขนมนมเนยไปด้วยกันจนถึงโพสต์ ที่200 ที่300 หรือ1000 ด้วยกันนะคะ ขอบคุณจริงๆค่ะ
(ภาษาไทยข้างล่างนะคะ)
Many of you may be wondering what has been keeping me so busy lately. Apart from my early morning class schedule, which is like my Kryptonite, I have been diligently planning a family trip that is coming up soon. Just planning a trip could keep you that busy? – one may ask. And let me tell you that if you travel like the Bunnags, it takes at weeks of careful planning, months in advance!
My family and I always plan our own trips and are a fan of traveling like the locals. The hardest and the most time consuming part of any trip is planning the restaurants! We do not want to waste our precious and limited meals on something that is not deliciously mind blowing – hence I have been going to bed at 3 or 4 am for a good week now, just doing some foodie research.
When I am in a new country, I look for a good mix of meals – the crème de la crème such as the two or three Michelin stars, the neighborhood hangouts frequent by locals where no English could be heard, and the farmers markets selling the freshest local produce. It is pretty clear that Lonely Planet or Zagat, although useful for primary research, would not cut it for me.
So how do I do my research? Let me give you all my useful tips on how to plan the most delicious trip of your life!
- Plan your budget – Restaurants could be expensive, know how much you are willing to spend on food from the start, so you can make decisions and plan accordingly.
- Start off with guidebooks – Make Mr.Lonely Planet and Mrs. Eyewitness your kindergarten teacher. Learn the basic information such as the different areas of the city – know the touristy areas and. In most cases, avoid eating there like the plaque if you do not want to get ripped off for mediocre food. Also, learn a little about their eating cultures, if restaurants are close on certain days of the weeks and how to handle tipping etc.
- Utilize Restaurant Guide with Reviews – Find out the famous and expensive restaurants, if you wish to splurge, on official guides, Read around and learn a little bit about each place – What earned them the stars? Who is the celebrity chef? What kind of price range are you expecting? Jot down the names that you seem interested in and proceed to the next step.
- Consult your local friends – Have a local foodie friend? – give them the list of the expensive restaurants and ask for their opinions. And also ask them for their list of favorite spots around town, [Beware that this step is proven to be useful only if they are actually someone who love to eat, if your friend lives in your destination but choose to frequent McDonalds then skip this step.]
- Consult the foodies – Utilize the wonders of the internet and ask around in food-related webboards. My favorite is Chowhound for the States and Europe and Pantip for Asia. This is the best tool for finding out the up and coming restaurants, the neighborhood gems, the hidden spots. You can learn anything from the average price of a meal, what to order, when to go, how to make reservations etc. Probably the most useful step out of this list! Read, read, and read then comple a list of the places that sing to you.
- Read sample meals – once you have the names, try to read the reviews of trusted foodies. Do not read just one and decide accordingly. Most often than not, they have different palettes than you. Therefore, what a foodie, despite how famous, likes may not really tickles your fancy. So read many, look at pictures, and check out sample menus on restaurants’ official sites.
- Book early – The stars and the famous restaurants can get booked up months in advance. I advise you to book early as possible.
- Use your hotel concierge – e-mail then the reservations details and let them do the hard work for you. Normally they have a better connection as well.
- Make a food map – utilize the My map functionality on Google Map and map out the locations of the places of your interest. Simply search for a location and save it to your map (see picture. ) You can either print out an overview version and small version, zooming in on each area. Bring these personalized maps with you at all time or just grab your smartphone and simply glance at the map and find YOUR nearest restaurant when you find yourself hungry,


หลายๆคนอาจจะสงสัยว่านิดาทำอะไรทำไมช่วงนี้ถึงยุ่งจัง ขอบอกเลยว่านิดาแพ้การตื่นเช้าค่ะ และตอนนี้ต้องตื่นไปเรียนตอน 6 โมงเหมือนสมัยอยู่ประถม ความรู้สึกเหมือนซูเปอร์แมนโดนคริปโตไนท์เลยค่ะ แถมช่วงนี้ยังนอนตีสี่ทุกคืนเพราะมัวแต่วางแผนทริปที่จะไปเที่ยวในอีกไม่นานนี้อีกค่ะ
ถ้านิดาเลือกที่จะไปเที่ยวกับทัวร์ก็คงไม่ต้องมานั่งแพลนทุกๆอย่างด้วยตัวเองแต่นิดารู้สึกว่าชอบไปเที่ยวเองมากกว่าเพราะชอบที่จะได้สัมผัสถึงวิถีชีวิตในรูปแบบของคนเมืองนั้นๆอย่างแท้จริงค่ะ สิ่งที่ใช้เวลานานที่สุดในการวางแผนสำหรับนิดา ก็เห็นจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากเรื่องกิน หลายๆคนอาจจะพอใจที่จะทานอะไรก็ได้เวลาไปเที่ยว เหนื่อยที่ไหนก็ทานที่นั่น แต่นิดาเป็นคนถึงหลงไหล (ออกไปทางบ้าคลั่ง) ใรการไปตะลุยกินร้านขึ้นชื่อ ร้านดังในประดทศต่างๆ จนเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ชอบที่สุดเลยก็ว่าได้ค่ะ
เวลาเที่ยวนิดาเลือกที่จะไม่ทานอย่างนักท่องเที่ยว นิด่เลือกที่จะทานอย่างคนท้องถิ่น เพราะนิดารู้สึกว่าถ้าไปตามไกด็บุ๊คก็จะออกมาอารมณ์เดียวกับฝรั่งมาบ้านเราแล้วก็วนเวียนอยู่แต่แถวๆข้าวสารค่ะ นิดามักจะสรรหาร้านที่ดีที่สุดที่ขึ้นชื่อที่สุด เช่นร้านที่มีดาวมิชชาลิน สัก 1-2ร้าน และก็หาร้านน่ารักๆเล็กๆที่คนท้องถิ่นชอบไปกัน แบบที่เข้าไปแล้วเราฟังไม่รู้เรื่อง อ่านไม่ออก แต่อร่อยมากๆ ประมาณนั้นอ่ะค่ะ นอกจากนั้นที่ขาดไม่ได้เลยคือตลาด Farmer’s Market ที่มีผักผลไม้และผลิตภันท์ที่หาที่บ้านเราไม่ได้ให้เดินชมด้วยค่ะ
ด้วยความที่นิดาค่อนข้างจะซีเรียสกับเรื่อนการวางแผนการกินในแต่ละทริป ทำให้ต้องใช้เวลานาน(มาก)ในการหาข้อมูลในแต่ละครั้งค่ะ แต่หลังจากที่ไม่ได้นอนมาเกือบอาทิตย์ นิดาว่านิดาได้เกร็ดเล็กๆน้อยๆที่น่าจะทำให้ทุกๆคนสามารถแพลนทริปอร่อยๆได้ด้วยตัวเองเหมือนกันนะคะ ไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ
- กำหนดงบ – ก่อนจะเริ่มต้นต้องคิดก่อนค่ะว่าอยากจะใช้เงินไปกับอาหารเท่าไหร่ในทริปนี้ เพราะร้านอาหารหลายๆร้านสามารถแพงจนเอาไปเป็นค่าเช่าบ้านได้เดือนนึงเลยนะคะ เพราะฉะนั้นข้อนี้จะทำให้การวางแผนของเราง่ายขึ้นค่ะ.
- เริ่มจากหนังสือท่องเที่ยง – จริงอยู่ที่กระเป๋านักท่องเทียวแต่ละคนคงมีหนังสือคล้ายๆกัน ที่บอกให้เราไปในที่คล้ายๆกัน แต่เราไม่จำเป็นต้องไปทานตามที่เค้าบอกค่ะ เราเพียงแต่ใช้หนังสือหาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ เริ่มจากเรียนรู้ความแตกต่างของย่านต่างๆ เรียนรู้วิถีการกินของชาวเมือง เช่นร้านอาหารปิดกันวันไหน เค้าทิปกันมั้ย ข้อแนะนำคืออย่าเลือกทานอาหารในร้านที่เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวที่อยู่ติดกับสถานที่สำคัญๆค่ะ ส่วนมากจะแพงและไม่อร่อย
- อ่านเว็บไซต์หรือหนังสือแนะนำร้านอาหาร องกรณ์ดังๆอย่าง Michelin หรือ Zagat ได้ทำการจัดอันดับร้านอาหารไว้ให้เราเป็นอย่างดี และเราสามารถหาข้อมูลเบื้องต้นของร้านอาหารดังๆได้มากมาย เช่นใครคือเชฟผู้อยู่เบื้องหลัง รคาเฉลี่ยต่อหัว เวลาทำการ หลังจากอ่านกก็จดชื่อที่เราสนใจไว้ค่ะ และไปข้อต่อไป
- ถามเพื่อนที่เป็นคนท้องถิ่น – ถ้าใครที่มีเพื่อนที่ช่างกินและมีเรสนิยมคล้ายๆกันแล้ว ถามเค้าเลยค่ะว่าคิดยังไงกับร้านที่เราเลือก และร้านประจำของเค้ามีที่ไหนบ้าง แต่ข้อควรระวังคืออย่าไปถามเพื่อนที่ถึงอยู่ที่เมืองนั้นก็จริงแต่ทานแต่McDonaldsทุกวันนะคะ
- ปรึกษานักกินตัวยง – ในยุคไซเบอร์แบบนี้เราโชคดีมากๆค่ะที่สามารถสอบถาม และพึ่งพานักกินที่เชี่ยวชาญในเมืองต่างๆได้อย่างง่ายดาย สิ่งที่นิดาชอบทำที่สุดคืออ่านบอร์ดเกี่ยวกับอาหารในต่างแดนค่ะ ไซต์ที่แนะนำคือ Chowhound สำหรับเมืองนอง และ พันทิปสำหรับเอเซียค่ะ บอรืดพวกนี้จะช่วยได้มากในการหาข้อมูลที่ละเอียดค่ะ เช่นเมนูมีอะไรบ้าง หน้าตาเป็นอย่างไร ร้านบริการดีมั้ย และนอกจากนั้นยังหาร้านแปลกๆอร่อยๆที่ไม่มีในไกด์บุ๊คได้อีกเยอะเลยค่ะ
- อ่านบล๊อก – พอเราได้ชื่อร้านที่ชอบครบแล้วก็หาบล๊อกอาหารที่ดังๆของประเทศนั้นๆมาอ่านสักสองสามอันค่ะ ดูรีวิวของร้านแต่ละร้านและค่อยตัดสินใจนะคะ อย่าอ่านแค่หนึ่งแล้วลงมือจองเลย เพราะเป็นไปได้มากที่อะไรที่เค้าว่าอร่อย เราอาจจะบอกว่าอี๋ก็ได้ค่ะ
- จองไวๆ – ยิ่งถ้าเป็นร้านที่มีดาวประดับ ขอแนะนำให้จองเป็นเดือนๆล่วงหน้าค่ะ
- ใช้ concierge ของโรงแรมให้เป็นประโยชน์– e-mail ข้อมูลร้านอาหาร วันที่และเวลาไปให้ที่โรงแรม และบอกเค้าว่าเราไม่สะดวกที่จะโทรไปเองเพราะ เวลา ภาษา ฯลฯ โรงแรมส่วนมากยินดีที่จะทำให้นะคะ.
- ทำแผนที่แสนอร่อย– ใช้ My Map ใน Google Map ให้เป็นประโยชน์ และสร้างแผนที่ร้านอาหารของตัวเราเองโดยการเซฟสถานที่ๆชอบไว้ในแผนที่ส่วนตัวของเราค่ะ เมื่อไหร่ที่หิว ก็ยก smartphone ขึ้นมาและก็หาร้านอาหารที่ราเองเลือกไว้ที่อยู่ไกล้ๆได้เลย ดีมั้ยล่ะค่ะ (หรือจะ printและเอาติดตัวไปด้วยเสมอก็ได้ ซึ่งนิดาชอบทำเพราะชอบเขียนnoteไว้ข้างว่าอร่อยมั้ย และเอาเก็บไว้เป็นที่ระลึกค่ะ)
อ่านปุ๊บ ทำตามปั๊บเลยค่ะ เพราะกำลังแพลนไปเที่ยว แล้วกำลังหาร้านกินอร่อยๆ พอดีเลยค่ะ ^^